ข่าวดี หรือ ข่าวร้าย ? ปี 2556 มหาวิทยาลัย 6 แห่ง ออกนอกระบบ

2013030562833

 มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ คือ อะไร   

มหาวิทยาลัยเปรียบเสมือนศูนย์รวมของมันสมองของชาติ เป็นที่รวมขององค์ความรู้ การค้นคว้า และการวิจัย เพื่อใช้ในการผลิตมันสมองของชาติรุ่นต่อๆไป แต่จุดด้อยของการเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ คือ การบริหารงานและบุคลากร ที่ยังอยู่ในกรอบปฏิบัติของระเบียบราชการที่ก่อให้เกิดความล่าช้าและความไม่คล่องตัว ในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยและการพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมทั้งในประเทศและต่างประเทศ

การปรับเปลี่ยนสถานภาพจาก มหาวิทยาลัยของรัฐซึ่งมีความเป็นราชการทั้งหมด มาเป็นมหาวิทยาลัยในรูปแบบอื่น ที่ไม่ใช่มหาวิทยาลัยเอกชนและไม่ใช่รูปแบบรัฐวิสาหกิจแต่ยังคงสภาพความเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐอยู่ และยังใช้งบประมาณแผ่นดิน แต่มีการบริหารงานที่แตกต่างออกไป จึงก่อกำเนิดเป็น มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐตามความใน ม.36 แห่ง พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 บัญญัติว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษาปริญญาเป็นนิติบุคคล และอาจจัดเป็นส่วนราชการหรือหน่วยงานในกำกับของรัฐ และโดยนัยดังกล่าว เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีการบริหารจัดการศึกษาที่ดีตามหลักธรรมมาภิบาล มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน ควบคู่กับความรับผิดชอบที่จะดำเนินภารกิจอย่างมีคุณภาพ ประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาประเทศ มีความเชื่อมโยงกับนโยบายของรัฐบาลโดยรัฐสามารถกำกับดูแลและตรวจสอบได้

สรุป สถานภาพของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ได้ดังนี้
1.สถานภาพเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ
2.เป็นนิติบุคคล และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
3.เป็นหน่วยงานของรัฐที่ยังคงได้รับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณอย่างเพียงพอที่จำเป็นต่อการประกันคุณภาพการศึกษาไว้ได้

   มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ในประเทศไทย   

ปัจจุบันในประเทศไทยมีสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ จำนวน 16 แห่ง ได้แก่
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (ออกจากระบบราชการตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย)
- มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (ออกจากระบบราชการตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย)
- มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (ออกจากระบบราชการตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย)
- มหาวิทยาลัยพะเยา (ออกจากระบบราชการตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย)
- มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร (ออกจากระบบราชการตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย)
- สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา 
 (ออกจากระบบราชการตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งสถาบัน)
- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสงฆ์)
- มหาวิทยาลัยมกุฏราชวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสงฆ์)
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
 (มหาวิทยาลัยของรัฐแห่งแรกที่พร้อมและขอออกนอกระบบราชการ แปรสภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เมื่อปี 2540)
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- มหาวิทยาลัยทักษิณ
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยบูรพา

  ปี 2556 กับ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ อีก 6 แห่ง   

ข่าวดี หรือ ข่าวร้าย? ปี

   การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เมื่อเป็น มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ   

ในส่วนของมหาวิทยาลัย

1.การปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน การบริหารจัดการที่รวดเร็ว คุณภาพสูง การกำหนดนโยบายและการบริหารงานสิ้นสุดที่สภามหาวิทยาลัย โดยจะเป็นองค์กรสูงสุดในการกำหนด อธิการบดีจะปรับเปลี่ยนเป็นนักบริหารในเชิงรุก

2.การสร้างแรงจูงจูงใจในการดึงดูดบุคลากรและทรัพยากร ที่มีความสามารถเข้ามาสู่มหาวิทยาลัย การให้มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งกำหนดกฎเกณฑ์ หรือระเบียบต่างๆได้เอง ทั้งในแง่ของค่าตอบแทน ความก้าวหน้า ทำให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้นในระหว่างมหาวิทยาลัยในการดึงดูดผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเข้ามาเป็นอาจารย์ อันจะส่งผลต่อคุณภาพของบัณฑิตที่จบออกไป

3.การดำเนินงานจะคำนึงถึงต้นทุนการผลิต เช่น อาจยุติหรือยุบการดำเนินการของมหาวิทยาลัย คณะหรือปิดการสอนหลักสูตรที่ไม่คุ้มทุน รวมถึงการให้เอกชนเข้ามารับจ้างในบางกิจกรรมที่ไม่ใช่ภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย
ตัวอย่าง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ที่กำลังจะเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

ในส่วนของนักศึกษา

ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า จะไม่มีการขึ้นค่าธรรมเนียมการศึกษา เพราะแม้ในบางมหาวิทยาลัยขณะที่ยังไม่มีการเปลี่ยนสถานภาพเป็น มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ก็มีการขึ้นค่าธรรมเนียมหรือเปลี่ยนรูปแบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาไว้ล่วงหน้าแล้ว อาทิ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

และเมื่อไปพิจารณา มหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนสถานภาพเป็น มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ อย่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ล่าสุดก็ทำกาปรับค่าธรรมเนียมการศึกษาใหม่ ในปีการศึกษา 2556 ที่เก็บในอัตราใหม่ อยู่ทื่ 17,000 บาท และ 21,000 บาท  ขึ้นอยู่กับกลุ่มคณะ

ตัวอย่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปรับค่าธรรมเนียมการศึกษาใหม่ ในปีการศึกษา 2556

ข่าวดี หรือ ข่าวร้าย? ปี

นอกจากนี้ยังมีข้อกังวลต่อ การปิดตัวลงของสาขา/คณะ ที่ไม่คุ้มค่าต่อต้นทุนการผลิตของมหาวิทยาลัย

ในส่วนของนักเรียน

สำหรับนักเรียน ยังไม่ใช่ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงในมหาวิทยาลัยนั้นๆ เพราะไม่ว่าอย่างไร นักเรียนก็ยังต้องสอบเข้ามหาวิทยาลัย ในระบบรับตรง หรือ ระบบแอดมิชชัน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

แต่หาก พิจารณามหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนสถานภาพเป็น มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ตัวอย่างเช่น
มหาวิทยาลัยบูรพา ที่รูปแบบการรับเข้าศึกษา ในระดับปริญญาตรี นั้น จะมีการเปิดรับนักศึกษานักศึกษาที่มากขึ้น เปิดรับตรงหลายโครงการมากขึ้น(ค่าสมัครสอบก็สูงขึ้นตาม นักเรียนอาจจะต้องเสียเงินเปล่า ทั้งที่ยังไม่มีโอกาสได้เอาเท้าเหยียบลงบนพื้นมหาวิทยาลัยด้วยซ้ำ) และมักเน้นรับนักศึกษาในภาคพิเศษ(ค่าธรรมเนียมการศึกษาแพงกว่า) มากกว่าภาคปกติ

แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีอีกหลายมหาวิทยาลัยที่แม้เปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแล้ว แต่ก็ไม่ได้แสวงหาผลประโยชน์ของนักเรียนที่ต้องการเข้าศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่ในการรับเข้าศึกษาหลายโครงการ ไม่เก็บค่าสมัครในเบื้องต้นของการสมัคร จะให้เฉพาะผู้ที่ผ่านการคัดเลือกและมีสิทธิสอบสัมภาษณ์เท่านั้นที่จะต้องชำระค่าสมัคร

ในมุมหนึ่ง เราได้เห็นมหาวิทยาลัยที่เมื่อเปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มีการพัฒนาจนติดอันดับโลก แต่ยังคงปฏิบัติตามพันธกิจที่มีต่อประเทศชาติ ไม่แสวงหาผลประโยชน์จนกลายเป็นธุรกิจการศึกษา

แต่อีกมุมหนึ่ง เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า เรากำลังเผชิญกับมหาวิทยาลัยที่ไม่ใช่แต่การแปรสภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเท่านั้น แต่ยังได้แปรสภาพเป็น “ไหจอมละโมบ” พยายามสร้างรั้ว สร้างกำแพงมหาวิทยาลัยให้สูงขึ้น เพื่อปกปิดการกอบโกยเอาแต่ผลประโยชน์ โดยมีรั้วมหาวิทยาลัยเป็นฉากบังหน้า

ข่าวดี หรือ ข่าวร้าย? ปี

ผู้จองล่าสุด
จิรทีปต์ ศิริ หอการค้า
สุรัตนา กองแก้ว โรงเรียนสมุทรปราการ
ภัทราพร บุญมาลา ดอนเมืองทหารอากาศบำรุง
วิชุดา แหวนวงค์ โรงเรียนวัดป่าประดู่
ปานระวี จรัสแสงโรจน์ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
ธันยพร อาจพงษ์ไพร โรงเรียนไทรน้อย
นางสาวขวัญจิรา ใสงาม โรงเรียนสารสาสน์วิเทศบางบอน
นางสาวรุ่งทิวา ครุดหุ่น โรงเรียนปัญญาวรคุณ
Mi Ploy โรงเรียนปัญญาวรคุณ
Fern Chanisara โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)4

อ.ก้อง ศักดา ดีคำป้อ อ.เก่ง ภูวนัย วรรณสอน โดม บรรณาธิการ eduzones.com พี่ชะเอม webmaster eduzones.com ต้นซุง บรรณาธิการ interscholarship.com
  
spvi ais lactasoy

Facebook