แพทย์ มช.พัฒนาหุ่นยนต์ผ่าตัดผู้ป่วย ลดภาวะแทรกซ้อน


คณะแพทยศาสตร์ มช. พัฒนาหุ่นยนต์ผ่าตัดผู้ป่วย ทดสอบแล้วผลเป็นที่น่าพอใจ ช่วยลดภาวะแทรกซ้อน ลดอาการปวด ระบุมีความละเอียด แม่นยำ และสามารถผ่าตัดได้ในที่แคบ…

เมื่อวันที่ 24 ธ.ค. นพ.วัฒนา นาวาเจริญ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ในปัจจุบันมีการนำหุ่นยนต์มาช่วยในการผ่าตัดโรคระบบต่างๆ ในมนุษย์ที่มีความซับซ้อน การนำเอาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ผ่าตัดมาช่วยในการผ่าตัดบริเวณที่มีพื้นที่เล็ก และซับซ้อน ทำให้ผลความสำเร็จของการผ่าตัดมากขึ้น แม้เป็นการผ่าตัดในตำแหน่งที่มีความยุ่งยากซับซ้อน หุ่นยนต์ผ่าตัด หรือ Robotic Surgery นับเป็นเครื่องมือที่มีเทคโนโลยีทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ที่สามารถทำให้การผ่าตัดรักษาผู้ป่วยได้สะดวก ปลอดภัย และรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยสามารถนำมาใช้ในการผ่าตัดผู้ป่วยหลายระบบ ได้แก่ ศัลยกรรมระบบปัสสาวะ ศัลยกรรมทั่วไป ศัลยกรรมระบบลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

ข้อดีของการใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด คือ แขนกล้องและแขนที่ทำงานคล้ายมือของคน ซึ่งจะช่วยทำให้การผ่าตัดมีความละเอียดมากขึ้น ซึ่งสามรถมองเห็นภาพความละเอียดสูงและมีกำลังขยาย 10 เท่า ทำให้การผ่าตัดมีความแม่นยำมาก และผู้ป่วยจะได้รับประโยชน์ในการผ่าตัด โดยเฉพาะการผ่าตัดในที่แคบๆ และจะมีการเสียเลือดน้อยกว่า เนื่องจากมีความแม่นยำที่สูงยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีความเจ็บและความบอบช้ำของแผลผ่าตัดน้อยกว่า

“ทางคณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ได้นำเอาหุ่นยนต์ผ่าตัดมาช่วยในการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยด้วย ซึ่งมีการเตรียมทีมโดยการนำทีมงานไปดูงานที่ฮ่องกง และการสัมมนาเรื่องหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดเพื่อเตรียมความพร้อมในการรักษาผู้ ป่วย โดยผู้ป่วยรายแรกในภาคเหนือ ที่จะได้รับการผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา ผู้ป่วยเป็นเพศชาย อายุ 61 ปี ป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ใช้ระยะเวลาในการผ่าตัด 4 ชั่วโมง ผลการผ่าตัดเป็นที่เรียบร้อย ผู้ป่วยเสียเลือดน้อย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ใช้ยาแก้ปวดจำนวนน้อย และใส่สายปัสสาวะเป็นเวลา 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นผู้ป่วยสามารถกลั้นปัสสาวะได้เอง นับว่าเป็นเทคโนโลยีที่คณะแพทยศาสตร์ มช.นำมาใช้ เพื่อให้ลดการปวดจากการผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น และเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ป่วย” นพ.วัฒนา กล่าว

ด้าน รศ.นพ.นิเวศน์ นันทจิต คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. เปิดเผยว่า คณะแพทยศาสตร์ มช. เตรียมเปิดตัวเครื่อง PET-CT scan แห่งแรกในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย จะเป็นสถาบันแรกในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย และเป็นแห่งเดียวในภาคเหนือ ที่จะได้จัดให้มีการเรียนการสอน การบริการตรวจเพ็ต-ซีทีสแกน (PET-CT scan) และการผลิตสารกัมมันตรังสีโพซิตรอน โดยจะเริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2555 และจะเปิดให้บริการแก่ประชาชนในปี พ.ศ. 2556

“เครื่องเพ็ต-ซีที ไซโคลตรอนทางการแพทย์ หรือ PET-CT scan เป็นเครื่องภาพถ่ายอณู หรือโมเลกุล (molecular imaging) ภายในเซลล์ ที่แสดงการทำงานของเซลล์และแสดงตำแหน่งที่อยู่ของเซลล์ในร่างกายอย่างชัดเจน โดยการใช้สารกัมมันตรังสีที่ให้รังสีโพซิตรอน (positron emission) ติดฉลากกับโมเลกุลของสารที่สามารถเข้า-ออกเซลล์ เป็นตัวส่งสัญญาณรังสีจากตำแหน่งความผิดปกติ หรือรอยโรคต่างๆ เข้าสู่ระบบถ่ายภาพเพ็ตสแกนไปพร้อมกับการถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ ตำแหน่งรอยโรคเดียวกัน ทำให้ได้ภาพ 2 ชนิดที่สามารถซ้อนให้เป็นภาพเดียว (fusion image) กันได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคซับซ้อนต่างๆ ที่เป็นปัญหาสุขภาพหลักของประเทศและทั่วโลก ได้แก่ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ป่วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยโรคสมองและระบบประสาท สำหรับโรคมะเร็งการตรวจเพ็ต-ซีทีสแกน สามารถกำหนดระยะของโรคได้ถูกต้องแม่นยำ แพทย์สามารถจัดแผนการรักษาที่เหมาะสมกับระยะของโรค ทำให้ผลการรักษาโรคมะเร็งดีขึ้น และเป็นมาตรวัดผลการรักษาด้วยเคมีบำบัดแต่ละชนิดในผู้ป่วยแต่ละราย เพราะผู้ป่วยมีการตอบสนองต่อเคมีบำบัดไม่เท่ากัน นอกจากนี้ การตรวจเพ็ต-ซีทีสแกนยังสามารถแยกการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งออกจากรอยแผลเป็น ที่เกิดจากการรักษาต่างๆ ได้” รศ.นพ.นิเวศน์ กล่าว.

 

ที่มา ไทยรัฐ  25 ธันวาคม 2554

ผู้จองล่าสุด
จิรทีปต์ ศิริ หอการค้า
สุรัตนา กองแก้ว โรงเรียนสมุทรปราการ
ภัทราพร บุญมาลา ดอนเมืองทหารอากาศบำรุง
วิชุดา แหวนวงค์ โรงเรียนวัดป่าประดู่
ปานระวี จรัสแสงโรจน์ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
ธันยพร อาจพงษ์ไพร โรงเรียนไทรน้อย
นางสาวขวัญจิรา ใสงาม โรงเรียนสารสาสน์วิเทศบางบอน
นางสาวรุ่งทิวา ครุดหุ่น โรงเรียนปัญญาวรคุณ
Mi Ploy โรงเรียนปัญญาวรคุณ
Fern Chanisara โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)4

อ.ก้อง ศักดา ดีคำป้อ อ.เก่ง ภูวนัย วรรณสอน โดม บรรณาธิการ eduzones.com พี่ชะเอม webmaster eduzones.com ต้นซุง บรรณาธิการ interscholarship.com
  
spvi ais lactasoy

Facebook